Tuesday, February 16, 2010

การกลับมาของทองคำในฐานะทุนสำรอง The return of gold as reserves



ช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของค่าเงินยูโร และค่าเงิน US ดอลลาร์สหรัฐ ย้อนอดีตกันสักนิดหน่อยก่อนครับ ทองคำเคยมีความสำคัญต่อระบบการเงินโลกมาอย่างยาวนาน ระบบการเงินโลกสมัยแรกๆ มีการผูกอัตราแลกเปลี่ยนเงินแต่ละสกุลไว้กับทองคำ ที่เรียกว่า Gold Standdard ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ถูกใช้เป็นเงินทุนสำรองทั่วโลกเคยตีมูลค่าตายตัวไว้ที่ 35 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อทองคำ 1 ออนซ์ ก่อนจะถูกยกเลิกไปเพราะเมื่อมีการเพิ่มปริมาณดอลลาร์เข้ามาในระบบการเงินโลกจำนวนมากก็ไม่มีทางที่จะกดราคาทองคำ ไว้ที่เดิมได้อีกต่อไป ระบบการเงินสมัยใหม่นำโดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ เริ่มก่อเงินเฟ้อขึ้นเรื่อยๆเพื่อดันระบบเศรษฐกิจให้โต จนล่าสุด นวัตกรรมทางการเงินที่คิดค้นจนซับซ้อนสามารถทำให้เงินก้อนเล็กๆ กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ หนีเน่า กลายเป็นหนี้ดีจนเป็นที่มาของวิกฤติซัพไพรม์ ลามไปทั่วโลกจนเดี๋ยวนี้ ยังหาจุดจบไม่เจอ

การยกเลิกทองคำเป็นทุนสำรอง ทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารระบบการเงินมากขึ้นแต่สิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยคือการกำกับดูแลด้วยกฏเกณฑ์ที่ดีครับ ช่วงหลัง สหรัฐผ่อนคลายกฏเกณฑ์จนกลายเป็นการละเลยอาจจะด้วยระบบการเมืองที่มีกลุ่มผลประโยชน์แอบแฝงอยู่หรืออย่างไรก็แล้วแต่ทำให้ระบบการเงินโลกวันนี้มีปัญหา และที่หนักสุดเวลานี้คงเป็นยุโรปกับสหรัฐอเมริกานี่แหละครับ ประเทศต่างๆทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหา เริ่มมองหาเงินสกุลใหม่ที่มีเสถียรภาพนำมาเป็นทุนสำรองแทนดอลล่าร์ ซึ่งมีการถ่วงดุลด้วยค่าเงินสกุลหลักหลายสกุลในโลกรวมถึงทองคำ

เล่ามาตั้งนาน เพราะอยากจะโยงกับข่าว 2 ข่าวเกิดขึ้นในช่วงนี้คือข่าวการประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน ในวันนี้ (15 กุมภาพันธ์) เกี่ยวกับแนวทางเข้าช่วยเหลือกรีซ กับอีกข่าวคือการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐสมาชิกสภาล่างสหรัฐ เพิ่งจะลงมติเพิ่มเพดานหนี้ให้ขึ้นไปที่ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นเพดานที่ประวัติการณ์เพื่อให้รัฐบาลกลางสามารถกู้ยืมเงินได้อีก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อให้โอบามา เอาไปกู้วิกฤติ กระตุ้นเศรษฐกิจต่อ

เงินยูโร กำลังเผชิญกับปัญหาหนักจากการรวมตัวกันเพื่อสร้างเงินสกุลเดียวในยุโรป หากแนวทางการแก้ปัญหากรีซที่ออกมาไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรมอาจสั่นคลอนสถานะการรวมตัวที่ไม่แน่นหนานักในกลุ่มประเทศสมาชิกที่ใช้เงินยูโรได้ด้วยความแตกต่างในสถานะการเงิน ความแข็งแกร่งของแต่ละประเทศ และนอกจากกรีซก็ยังมีประเทศอื่นในกลุ่มที่ง่อนแง่นจ่อคิวสร้างปัญหาอยู่เช่นกัน

ส่วนดอลลาร์สหรัฐ จริงๆสภาพก็ไม่ต่างกันกับยูโรปเลย บางรัฐในสหรัฐกำลังเผชิญปัญหาถังแตกไม่แพ้กัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานของตัวเองอยู่ครับสาเหตุเพียงเพราะข่าวที่ออกมาในช่วงที่ผ่านมา ดูแย่น้อยกว่ายูโรปเท่านั้นเองแต่การเปิดเพดานการก่อหนี้เพิ่มล่าสุดนี่คงจะนำไปสู่การอ่อนค่าลงต่อของดอลลาร์ค่อนข้างแน่นอนระบบการเงินโลกยังมีปัญหาแบบนี้ ทำให้ทองคำกลับมามีบทบาทครับ เพราะทองคำก็เปรียบเสมือนเงินอีกสกุล ที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในยามนี้

ราคาทองคำที่ลงมาในช่วงนี้ สาเหตุหลัก มองกันว่าเพราะดอลล่าร์กำลังแข็งค่านี่แหละครับ แต่การแข็งค่าแบบไร้ปัจจัยหนุนแบบนี้เชื่อได้เลยครับว่า ไม่นานก็ต้องพับฐานลงมา ดอลลาร์ที่มีอยู่ในระบบทุนสำรองโลกโดยเฉพาะจีน ที่ถือไว้มากกว่าครึ่งของทุนสำรองของตนกำลังจะถูกผ่องถ่ายออกไปเป็นสินทรัพย์อย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนรวมถึงการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลก รวมถึงทองคำ

หากใครติดตามมาตั้งแต่บทความแรก ที่ผมพูดถึงกองทุนใหญ่อย่าง SPDR Gold Shares ที่ผมบอกว่า ให้จ้องขาใหญ่รายนี้ให้ดีๆ สัปดาห์ที่ผ่านมา กองทุน Sovereign Wealth Fund ของจีน ได้เข้าไปซื้อหุ้น SPDR 1.45 ล้านหุ้น เป็นเงินราว 155.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่มากไม่น้อย แต่มีนัยสำคัญแน่นอนครับเหลือแต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ยังไม่เห็นปริมาณทองคำของ SPDR ขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วย แต่จีนเริ่มขยับเข้าซื้อแบบนี้เดี๋ยวก็น่าจะได้เห็น SPDR เริ่มเก็บของเช่นกันครับ

ปิดท้ายด้วย ราคาทองคำที่ปิดสัปดาห์ไปที่ราคา 1,093 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ปิดบวกได้เป็นครั้งแรก หลังจากร่วงลงตลอด 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ผมทิ้งท้ายไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าหากผ่านได้ มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับทิศเป็นขาขึ้น (อย่างน้อยก็ชั่วคราว) งานนี้ถึงยังไม่ผ่าน แต่ก็เริ่มเห็นแสงปลายอุโมงค์กันแล้ว
ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ

Saturday, February 6, 2010

ทองคำลดลง 600 บาท Gold down 600 baht

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 09:45 น.


หลังราคาในตลาดโลกร่วง 49 ดอลล์ นักลงทุนแห่เทขาย เนื่องจากเงินดอลล์แข็งค่า
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,063.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 49.00 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,112-1,059 ดอลลาร์

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 15.35 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 96.70 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ดิ่งลง 9.45 เซนต์ ปิดที่ 2.879 ดอลลาร์/ปอนด์

ส่วนสัญญาพลาตินัมเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,515.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 60.90 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 408.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 28.40 ดอลลาร์

นักวิเคราะห์จากบริษัท Prospector Asset Management ในมลรัฐอิลลินอยส์กล่าวว่า นักลงทุนกระหน่ำขายสัญญาทองคำต่อเนื่องจากวันพุธ หลังจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลที่เพิ่มขึ้นในประเทศกรีซ สเปน และโปรตุเกส ส่งผลให้นักลงทุนกระหน่ำขายสกุลเงินยูโรและแห่ซื้อดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายสัญญาทองคำเพื่อชดเชยการขาดทุนในตลาดอื่นๆ รวมถึงตลาดหุ้น โดยดัชนี MSCI World Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดตลาดหุ้นใน 23 ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกร่วงลงหนักสุดในรอบ 6 เดือน อันเนื่องมาจากความกังวลที่ว่าหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะกรีซ จะไม่สามารถจัดการกับปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณได้

ทำให้ ราคาทองคำประจำวันที่ 5 ก.พ. 2553 ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ ลดลงทันทีถึง 600 บาท โดย ราคาทองคำแท่งรับซื้อบาทละ16,700 ขายออกบาทละ16,800 ทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 16,463.76 ขายออกบาทละ 17,200 บาท

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนัก หลังเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,063.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 49.00 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,112-1,059 ดอลลาร์

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 15.35 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 96.70 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ดิ่งลง 9.45 เซนต์ ปิดที่ 2.879 ดอลลาร์/ปอนด์

ส่วนสัญญาพลาตินัมเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,515.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 60.90 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 408.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 28.40 ดอลลาร์

นักวิเคราะห์จากบริษัท Prospector Asset Management ในมลรัฐอิลลินอยส์กล่าวว่า นักลงทุนกระหน่ำขายสัญญาทองคำต่อเนื่องจากวันพุธ หลังจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลที่เพิ่มขึ้นในประเทศกรีซ สเปน และโปรตุเกส ส่งผลให้นักลงทุนกระหน่ำขายสกุลเงินยูโรและแห่ซื้อดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสี่ยง

นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายสัญญาทองคำเพื่อชดเชยการขาดทุนในตลาดอื่นๆ รวมถึงตลาดหุ้น โดยดัชนี MSCI World Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดตลาดหุ้นใน 23 ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกร่วงลงหนักสุดในรอบ 6 เดือน อันเนื่องมาจากความกังวลที่ว่าหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะกรีซ จะไม่สามารถจัดการกับปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณได้
ที่มา นสพ.โพสต์ทูเดย์

Monday, February 1, 2010

ทองรูปพรรณวันนี้ขายออกบาทละ 17,500 Gold sales today 17,500 baht.

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 09:40 น.
ทองรูปพรรณวันนี้ขายออกบาทละ 17,500 บาท ทองแท่งขายออก 17,100 บาท
สมาคมค้าทองคำ รายงานราคาทอง (ทองคำ 96.5%) ประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ทองคำแท่งรับซื้อคืนบาทละ 17,000 บาท ขายออก 17,100 บาท ทองรูปพรรณรับซื้อคืนบาทละ 16,751.80 บาท ขายออก 17,500 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ปิดลบ 1 ดอลลาร์ แตะที่ระดับ 1,083.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1075.0 - 1088.2 ดอลลาร์

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 16.190 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 2.2 เซนต์

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,506 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 12.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 412.65 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 70 เซนต์

สัญญาทองคำ COMEX อ่อนตัวลงเพราะถูกกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากนักลงทุนแห่ไปซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตรา หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้จุดกระแสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าประเทศอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจชะลอตัวลงในช่วงปลายปีนี้ หลังจากที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มหมดอายุลง

สำหรับราคาทองคำในประเทศตามประกาศของมาคมค้าทองคำ ราคาทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 17,000 ขายออกบาทละ 17,100ทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 16,751.80 ขายอกบาทละ 17,500บาท

playlist